นักวิทย์ฯ เผย โควิด อาจมีผลกับ อสุจิ

นักวิทย์ฯ เผย โควิด อาจมีผลกับ อสุจิ

งานวิจัยในประเทศอังกฤษเปิดเผยว่า ผู้ป่วย โควิด อาจส่งผลต่อคุณภาพของ อสุจิ และ ระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย เมื่อวันที่ 29 มกราคม สำนักข่าว CNN รายงานว่า งานวิจัยในประเทศอังกฤษพบว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคโควิด-19 อาจส่งผลต่อคุณภาพของอสุจิและระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย

งานวิจัยดังกล่าวได้ตรวจสอบน้ำเชื้อของผู้ชายจำนวน 105 คน

ที่ไม่เคยป่วยเป็นโควิด-19 กับผู้ชาย 84 คนที่เคยติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 60 วัน โดยเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสเปิร์มทุกๆ 10 วัน จากการตรวจสอบพบว่าอสุจิของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จะมีอาการอักเสบ และมีภาวะเครียดออกซิเดชั่น และหากยิ่งผู้ป่วยมีอาการโควิดรุนแรงเท่าไหร่ ความแตกต่างระหว่างผู้ชายธรรมดากับผู้ป่วยก็ยิ่งมากเท่านั้น และส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย

ซึ่งหัวหน้าทีมวิจัยระบุว่า โดยปกติแล้วคุณภาพของน้ำเชื้อจะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้นอาจใช้เวลานานกว่าผู้ป่วยไวรัสชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ไม่มีการระบุว่าเวลาแน่ชัดว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาตั้งคำถามถึงงานวิจัยชิ้นนี้ พร้อมระบุว่าการที่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้จำนวนสเปิร์มลดลงได้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ชัดเจนว่าโควิด-19 ต่างกับเชื้อไวรัสชนิดอื่นขนาดไหน ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีการตรวจพบเชื้อไวรัสในน้ำเชื้อ และยังไม่พบหลักฐานว่า สเปิร์มสามารถแพร่เชื้อได้

หลังจากที่ได้ทำการทดลองเฟสที่ 3 กับอาสาสมัครเกือบ 2 หมื่นคน โดยในจำนวนดังกล่าวมีอาสาสมัครที่อายุมากกว่า 60 ปีรวมอยู่ด้วย ซึ่งรายงานระบุว่าวัคซีนสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพกับอาสาสมัครกลุ่มดังกล่าวเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกว่ายังไม่พบผู้รับวัคซีนได้รับผลกระทบจากวัคซีนอย่างรุนแรง โดยส่วนมากจะพบว่ามีอาการเหมือนไข้หวัด และ อ่อนเพลีย

อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่แพทย์ระบุว่าพวกเขายังคงต้องทำการศึกษาวัคซีนชนิดนี้เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการรับมือกับผู้ป่วยโควิดที่ไม่แสดงอาการ และตรวจสอบว่าภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้นานเท่าใด โดยทางนักวิทยาศาสตร์ตั้งเป้าจะทำการทดลองวัคซีนกับอาสาสมัครกว่า 4 หมื่นคน

วัคซีน สปุตนิก ไฟว์ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก หลังจากที่ทางการรัสเซียอนุมัติใช้วัคซีนชนิดดังกล่าว เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าการทดลองวัคซีนในเฟสที่ 3 จะยังไม่เสร็จสิ้นก็ตาม

ในปัจจุบันหลายประเทศได้อนุมัติการใช้วัคซีนดังกล่าว ซึ่งนอกจากรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตแล้ว เบลารุส, อาร์เจนตินา, เซอร์เบีย, เวเนซุเอลา, UAE, ฮังการี ฯลฯ ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิดดังกล่าวแล้ว ขณะนี้มีประชาชนเข้ารับวัคซีนนี้แล้วกว่า 2 ล้านคน

หนุ่มขโมยรถลาก ชำระแค้น หลังรถตนโดนลาก

หนุ่มขโมยรถลาก เพื่อเป็นแก้แค้นบริษัทเจ้าของรถที่เคยลากรถของเขาไปก่อนหน้านี้ สุดท้ายไปไม่รอดถูกจับ พร้อมโดนอีกอย่างน้อยสองข้อหา เมื่อวันที่ 22 มกราคม สำนักข่าว ฟ็อกซ์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐฟลอริดาได้จับกุมนาย ไอมี อองโก ชายชาวอเมริกันวัย 30 ปี หลังจากที่ชายคนดังกล่าวได้ขโมยรถลาก ไปตั้งแต่ช่วงเย็น

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหาชายคนดังกล่าว พวกเขาก็พบรถที่ถูกขโมยพร้อมกับผู้ก่อเหตุขับรถอยู้บนทางด่วนเมื่อช่วงเวลาประมาณเที่ยงคืน โดยเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ผู้ก่อเหตุหยุดรถ เพื่อคุยกับผู้ก่อเหตุ

โดยเจ้าตัวยอมรับว่าขโมยรถลากจริง เนื่องจากแค้นที่รถลากจากบริษัทดังกล่าวเคยลากรถของเขาไป นอกจากนี้จากการตรวจสอบยังพบว่าผู้ก่อเหตุยังมียาเสพติดอย่างน้อย 3 ชนิดในการครอบครอง ตำรวจได้ตั้งข้อหาโจรกรรมรถยนต์และมียาเสพติดไว้ในการครอบครัว ซึ่งรายงานล่าสุดระบุว่าผู้ก่อเหตุยังอยู่ในเรือนจำ

หมอยง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ประสิทธิภาพวัคซีน โควิด เมื่อใช้จริง จะต่ำกว่าข้อมูลที่ศึกษาเอาไว้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก พูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 โดยระบุว่าประสิทธิภาพเมื่อใช้จริงจะต่ำกว่าที่ทดลอง เนื่องจากตัวแปรอื่นๆ

โดยข้อความของหมอยงระบุว่า “โควิด 19 วัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อนำไปใช้จริง ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าข้อมูลจากการศึกษาในการวิจัย ทั้งนี้เพราะการใช้ในภาคสนาม มีตัวแปรอื่นๆอีกมากมาย

เราจะเห็นได้จากประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าเราดูตามที่บริษัทบอก จะมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ในการใช้จริง จะต่ำกว่าที่เขียนไว้ในฉลากยาอย่างแน่นอน ในทำนองเดียวกัน การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนของไวรัสตับอักเสบ บี ที่ผมทำการศึกษาในอดีต ในการศึกษาวิจัยจะมีประสิทธิภาพสูงมาก สูงถึงร้อยละ 94-95

แต่เมื่อนำไปใช้จริงในประชากรหมู่มาก หรือให้กับทารกทุกคน ประสิทธิภาพโดยรวมจะลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 80 ต้นๆ ทำนองเดียวกัน ประสิทธิภาพของวัคซีน covid19 ที่มีการศึกษากันมาก มีสูงสุดถึงร้อยละ 95 แต่เมื่อนำมาใช้จริงประสิทธิภาพจะน้อยกว่าในการศึกษาวิจัย การใช้ภาคสนามยังมีตัวแปรอื่นๆที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป